วันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ตำนานประวัติพระแม่กวนอิมอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์

                  
ตำนานประวัติพระแม่กวนอิมอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์

              พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ เป็นพระโบราณทรงบำเพ็ญสำเร็จพระโพธิญาณด้วยพระองค์เอง ตั้งแต่เมื่ออดีตอันยาวนานจนมิอาจคำนวณนับจำนวนกัปกัลป์ได้ โพธิจิตของพระองค์ท่านได้สำเร็จด้วยการพิจารณาจนถึงที่สุดแห่งกระแสเสียง และทรงนิ่งอยู่ในอารมณ์ธรรมชาติของกระแสนั้น จนบรรลุถึงจุดนิ่งสุดของความนิ่งทั้งปวง อันเป็นธรรมชาติแห่งสุญญตา ด้วยจิตที่นิ่งที่สุดในสุญญตานี้ จึงทรงเป็นอกริยาที่เหนือผัสสะ ความเกิดดับ ความหวั่นไหว และไม่หวั่นไหวทั้งปวง เสียงของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนในทุกหนทุกแห่ง ล้วนอยู่ในสายตาความรู้เห็นของพระองค์ทั้งสิ้น ไม่มีเสียงใดในโลกหรือนอกโบกที่จะพ้นไปจากพระกระแสแห่งความรู้เห็นของ พระองค์พระนามของพระองค์ “กวนอิม” จึงมีความหมายที่ลึกซึ้งว่า “ผู้เงี่ยหูฟังเสียงร้องของโลก”
            ด้วยพระบารมีอันสั่งสมมานานของพระองค์ท่าน จึงทรงสามารถสำแดงแปลงพระกายได้ถึงพันพระเศียรพันพระกร พันพระเนตร ตลอดจนสามารถเนรมิตกายเพื่อโปรดสรรพสัตว์ในรูปกายต่าง ๆ ได้มากมายมหาศษลตามที่ปรากฏในพระสัทธธรรมปุณฑริกสูตรฉบับภาษาจีน (เมียวฮวบไหน่ฮัวเกง) ได้กล่าว่า พระองค์ท่านมีนิรมาณกาย 32 ปางใหญ่ ด้วยบุญญาภินิหารและอิทธิปาฏิหาริยันล้นพ้นของพระองค์ท่านทรงโปรดสรรพสัตว์ สุดที่จะประมาณได้ ซึ่งไม่มีพระโพธิสัตว์องค์ใดที่จะโปรดได้มากเสมอเหมือนปางที่ชาวโลกนิยมบูชา พระองค์ท่านมากที่สุดคือ ปางเพศสตรีโดยชาวพุทธมหายานในประเทศอินเดียเอ่ยพระนามพระองค์ท่านตามภาษา สันสกฤตว่า “อวโลกิเตศวร” ครั้นพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน จึงได้รับการแปลชื่อพระองค์ท่านตามศัพท์เป็นภาษาจีนว่า “กวนซืออิม” ซึ่งพระธรรมาจารย์กุมารชีพได้แปลความหมายว่า “ผู้เพ่งเสียงแห่งโลก” ต่อมาเนื่องจากคำว่า “ซือ” ไปตรงกับพระนามของจักรพรรดิถังไท่จง คือ หลี่ซือหมิง ดังนั้นจึงมีพระราชโองการให้ตัดคำว่า “ซือ” ออกเหลือแต่คำว่า “กวนอิม” นอกจากพระนามกวนอิมนี้แล้ว ก็ยังมีบางคนเอ่ยพระนามพระองค์ท่านว่า “กวนจื๋อไจ๋” ซึ่งสมณะเฮียนจั่งหรือที่ชาวไทยรู้จักกันดีในนามพระถังชำจั๋ง ได้เป็นผู้แปลใหม่มีความหมายว่า “ผู้เพ่งโดยอิสระ” แต่คนทั่วไปยังนิยมออกพระนามว่า “พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์” พระแม่มหาเมตตา มาจนทุกวันนี้ ด้วยพระนามที่ขึ้นต้นด้วย “พระแม่” นี้ ทำให้บางคนคิดว่าพระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ ทรางเป็นเพศสตรีอันอ่อนแอ ต่ำต้อยกว่าบุรุษ ซึ่งสำหรับปุถุชนทั่วไปแล้วย่อมเป็นเล่นนั้น แต่สำหรับพระองค์ท่านย่อมอยู่เหนือกฏเกณฑ์ เพราะคำว่า “เพศ” นี้ มีอยู่เฉพาะในมวลสัตว์ และใช้สำหรับผู้ที่ยังไม่สำเร็จเท่านั้น พระอริยเจ้าทุกพระองค์หรือผู้ที่สำเร็จแล้วย่อมอยู่เหนือคำว่าเพศ พระองค์ท่านทรงโปรดสรรพสัตว์ด้วยรูปปางต่าง ๆ ตั้งแต่ปางพุทธะลงมาจนถึงปางเทพ ยักษ์ มนุษย์ และอมนุษย์ โดยไม่จำกัดทั้งเพศและวัย รูปปางที่ปรากฏตามเพศวัยต่าง ๆ ในการโปรดสัตว์ของพระองค์ท่านนี้ เป็นภาวะที่เกินปัญญาของคนธรรมดาจะรู้ได้ พระองค์ท่านก็ทรงเป็นพระองค์ท่าน ปรากฏการณ์ก็คือปรากฏการณ์ การจะจำกัดพระองค์ท่านในรูปปางนั้น เพศนั้น วัยนั้น ตามปรากฏการณ์เสียทีเดียวย่อมไม่น่าจะถูกต้อง เพราะด้วยจิตศรัทธาที่แน่วแน่มั่นคง การบูชาย่อมเป็นประโยชน์ และเข้าถึงพระองค์ท่านได้โดยไม่จำกัดว่าเป็นรูปปางใด



               
             ส่วน คำว่ากรรมหรือกฎแห่งกรรมนั้น เป็นสิ่งคู่ไปกับการเกิดดับในสรรพสัตว์ เหมือนเงาตามตัวโดยไม่มีการยกเว้น แต่สำหรับพระองค์ท่านมูลเหตุแห่งกรรม ได้ระงับไปด้วยจิตแห่งสุญญตา อันเป็นภาวะที่เหนือทั้งเกิดดับ และกรรมทั้งปวง เมื่อกรรมไม่มี กฎแห่งกรรมก็ไม่เกิด พระองค์ท่านจึงทรงเหนือซึ่งความหมายของคำว่าเพศ กรรม และกฎแห่งกรรม ด้วยอำนาจแห่งธรรมชาติของสุญญตา ผู้ที่บูชาพระองค์ท่านด้วยความเพียร หากมีความปรารถนาที่จะได้คู่ครอง ปรารถนาที่จะได้บุตรธิดา ปรารถนาที่จะมีทรัพย์สมบัติปรารถนาที่จะมีสุขภาพแข็งแรง ปรารถนาที่จะได้ฌานสมาบัติปรารถนาที่จะได้มรรคผลนิพพาน ความปรารถนาทั้งหมดนี้ก็จะสามารถสมหวังได้ ด้วยอำนาจแห่งพระบารมีของพระองค์คำว่า “แม่” นอกจากจะมีความหมายสำคัญอยู่ที่การเป็นผู้ให้กำเนิดแล้ว ยังเป็นคำที่ดีที่สุด มีความหมายที่สุด สำคัญที่สุด ประเสริฐที่สุด มีคุณค่าที่สุด ลึกซึ้งที่สุด อบอุ่นที่สุด เมตตาที่สุด ให้อภัยที่สุด น่ายกย่องที่สุด และน่าเคารพรักบูชาที่สุด ไม่มีคำใดในโลกนี้จะมีค่าเหมือน ไม่มีคำในโลกนี้จะอบอุ่นเกิน ไม่มีความรักใดในโลกนี้จะบริสุทธิ์เท่า ไม่มีความรักใดในโลกนี้ที่จะยิ่งใหญ่เกิน เป็นความรักที่เต็มใจเสียสละและพร้อมจะให้ได้ทุกอย่าง เป็นความรักที่เปี่ยมด้วยความเมตตาอย่างสุดซึ้ง ไม่มีสิ่งใดที่จะให้ไม่ได้สำหรับความรักของคำว่า “แม่” จากความสำคัญทั้งหมดดังกล่าวนี้ คำว่า “แม่” จึงได้ปรากฏรวมอยู่ในพระนามของพระองค์ท่านด้วย อันเป็นการแสดงถึงความยกย่องที่สุด นอบน้อมที่สุด เคารพบูชาที่สุด
การบูชาพระองค์ท่านจะทำให้มีความรู้สึกเหมือนอยู่กับแม่ อยู่ใกล้แม่ ในโลกนี้ไม่มีผู้ใดจะรู้และเข้าใจถึงเสียงของสรรพสัตว์สรรพสิ่งได้ดีเท่า พระองค์ และไม่มีผู้ใดในโลกจะเมตตาเกินพระองค์ จงไว้วางใจในความรักความเมตตาของพระองค์ท่าน และมอบถวายความรักความบูชาไว้กับพระองค์ผู้ที่อยู่ใต้ความรักความเมตตาของ พระองค์ เคราะห์กรรมภัยพิบัติจะดับสูญ ทุกสิ่งจะคลี่คลายไปในทางที่ดี ชีวิตจะร่มเย็นเป็นสุขสมปรารถนาด้วยพระบารมี






อีกตำรา
 พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์(เจ้าแม่กวนอิม)

        พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “กวนซีอิมผู่สัก” (พระโพธิสัตว์กวนอิม) เป็นพระมหาโพธิสัตว์องค์หนึ่งที่มีพระเมตตากรุณามากซึ่งมีความสำคัญ ในการโปรดสัตว์โลกเป็นอย่างยิ่งในพระไตรปิฎกนิกายจีนมหายาน ได้จารึกถึงบทบาทสำคัญของพระองค์ ที่มีต่อพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก พระองค์ได้ทรงตั้งปณิธานไว้ว่าจะขอโปรดสัตว์โลกในไตรภูมิเพื่อให้ สัตว์โลก ได้รับพระเมตตากรุณามากที่สุด “ในเมื่อสัตว์โลกยังโปรดไม่หมด พระองค์ก็ยังไม่มีพระทัย ที่จะเสด็จเข้าสู่พุทธภูมิเสด็จนิพพานเป็นพระพุทธเจ้า” พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์  ปรากฏพระนามตั้งแต่ยุคแรกของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เมื่อพระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศจีน พระอาจารย์กุมารชีพแปลพระนามเป็นภาษาจีนว่า กวนซีอิม ตามศัพท์คำว่า อวโลกิเตศวร ในความหมายของ “พระผู้เพ่งเสียงแห่งโลก” ( กวน=อว ซี=โลกิต อิม=ศวร ) ต่อมา เนื่องจากคำว่า ซี ไปตรงกับพระนามของพระจักรพรรดิถังไท่จง คือหลีซีหมิง จึงตัดคำว่า ซี ออกเหลือเพียงแต่ กวนอิม

 
   ในพระสูตร สัทธรรมปุณฑรีกสูตร อวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์สมันตมุขปริวรรต ของฝ่ายมหายาน กล่าวว่า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสถึงเหตุแห่งพระนามอวโลกิเตศวรว่า เพราะพระอวโลกิเตศวรมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์โลกเป็นอันมาก สามารถเนรมิตนิรมาณกายไปโปรดสัตว์ยังโลกอื่นๆ อีก เช่น นิรมาณกายเป็นนาคไปโปรดนาคที่โลกนาค นิรมาณกายเป็นเทพไปโปรดเทพยังสวรรค์ เป็นต้น พระโพธิสัตว์สามารถประทานอภัย คือการช่วยให้พ้นทุกข์ภัย อันได้แก่ อัคคีภัย อุทกภัย และ โจรภัย เป็นต้น
 
    อัคคีภัย  ณ ที่นี้ หมายถึง 1. โลภะ อัคนี  2. โทสะ อัคนี 3. โมหะ อัคนีไฟชนิดนี้อันมีนามว่า “อัคนีแห่งกิเลศราคะ” แม้จะเอาน้ำในมหาสมุทรดับก็ไม่ได้ผล อัคคีชนิดนี้ ลุกลามแผ่ไพศาลครอบงำมนุษย์ถึงขนาดเจ้าโลภะ โทสะ โมหะ ก็เข้าบงการจิตใจ
   อุทกภัย  หมายถึง ทะเลทุกข์ ซึ่งเรียกกันในพระพุทธศาสนา สัตว์อุปมาดังผู้อาศัยอยู่ในเรือน้อยลอยลำร่อนเร่พเนจรอยู่ในกลางทะเลอัน เป็นวัฏฏสงสาร เวียนเกิดเวียนตาย อยู่ในโลกคือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย
   โจรภัย  คำว่า “โจร” หมายถึง โจรแห่งอารมณ์ฟุ้งซ่านหาใช่โจรธรรมดาไม่ โจรชนิดนี้ไม่มีตัวตน ปล้นอย่างเงียบ ๆ และใจเย็น ผู้ถูกปล้น มีสติเพลิดเพลินหลงใหลทรัพย์สินเงินทองสมบัติหมดเปลือง ถูกขนของออกจากบ้านไปโดยการปล้นทีละเล็กทีละน้อยจนหมดเนื้อหมดตัว
 

    การขอให้พ้นภัยก็ไม่ลำบาก เพียงแต่ตั้งใจภาวนาคำว่า 'นำมอ กวนซีอิมผ่อสัก' ความทุกข์ก็พลันสลาย
   ส่วนใน อวโลกิเตศวรสมาธิสูตร กล่าวว่าทรงเป็นพระสัทธรรมประภาสตถาคตผู้ทรงตรัสรู้แล้วในอดีต แต่ทรงสงสารเหล่าสัตว์จึงทรงดำรงอยู่ในโพธิสัตว์กายเพื่อโปรดสัตว์ พระมหาโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทรงเนรมิตพระรูปกาย ๓๓ กาย แสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งหลาย ได้แก่รูปของพระพุทธเจ้า พระสาวก พระพรหม พระอินทร์ พระเจ้าจักรพรรดิ เศรษฐี กุมาร กุมารี เทพ ครุฑ นาค ยักษ์ ฯลฯ
พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์เป็นพระโพธิสัตว์ที่ชาวจีนนับถือเป็นอันมาก นับแต่สมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ.๑๑๖๑ - ๑๔๕๐) ชาวจีนนับถือกันว่าเกาะผู่ถอซาน นอกชายฝั่งเมืองหนิงปอ มณฑลเจ้อเจียง คือเกาะโปตลกะอันเป็นที่ประทับ        ( ภาษาจีนว่า โผวท้อเลาะแค) เกาะแห่งนี้จึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ บนเกาะมีวัดวาอารามที่สร้างบูชารูปท่าน และวิหารที่สร้างขึ้นเพื่อบูชาท่านโดยเฉพาะก็มีอยู่มากมายรูปเพศหญิงของพระ อวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ ที่เราเห็นในปัจจุบันนั้นเป็นความนิยมหลังสมัยราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) (พ.ศ.๑๕๐๓ - ๑๘๒๒) เป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ.๑๘๒๓ - ๑๙๑๑) ตำนานเรื่องประวัติพระกวนอิมแพร่หลายในหมู่ชาวบ้านมาก นับถือกันว่าพระอวโลกิเตศวรนั้น แต่เดิมคือ พระธิดาเมี่ยวซั่น แห่งกษัตริย์เมี่ยวจวงอ้วง ตามเรื่องในนิทาน ทำให้รูปปฏิมาภายหลังจึงนิยมสร้างเป็นรูปสตรีเพศ โดยอุปมาว่าทรงเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ประดุจมารดามีต่อบุตร พระกวนอิม หรือพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ จึงเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย พระองค์เป็นที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งปวง พระองค์ท่านทรงเป็นผู้มีเมตตากรุณาช่วยปลดเปลื้องทุกข์ภัยของสัตว์โลกทั่ว ไตรภูมิและทรงปฏิบัติเช่นนี้เป็นนิจสิน




พระคาถาบูชา บทสรรเสริญพระคุณพระโพธิสัตว์กวนอิม
“นำโม กวนสี่อิม ผ่อสัก”

นำโม ไต่ชื้อ ไต่ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เหล่งก้ำ กวงสี่อิมผ่อสัก ( กราบ )
นำโม ไต่ชื้อ ไต่ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เหล่งก้ำ กวงสี่อิมผ่อสัก ( กราบ )
นำโม ไต่ชื้อ ไต่ปุย กิวโค่ว กิวหลั่ง กวงไต๋เหล่งก้ำ กวงสี่อิมผ่อสัก ( กราบ )
นำโมฮุก นำโมหวบ นำโมเจ็ง นำโมกิ้วโค่ว กิวหลั่งกวงสี่อิมผ่อสัก
ถั่งจี้ตอ โอม เกียล้อฮวดตอ เกียล้อฮวดตอ เกียคอฮวดตอ หล่อเกียฮวดตอ
หล่อเกียฮวดตอ ซาผ่อออ เทียงหล่อซิ้ง ตี่หล่อซิ้ง นั้งลี่หลั่ง หลั่งหลี่ซิง
เจ็กเฉียก ใจเอียง ห่วยอุ่ยติ๊ง นำมอ หม่อ ออ ปวกเยี้ย ปอหล่อบิ๊ก ( กราบ )

พระคาถาจีนแปลเป็นไทยโดยใจความ
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมกราบนมัสการแทบเบื้องพระยุคลบาทแห่งองค์พระพุทธบิดรอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งพระธรรมและพระอริยสงฆ์สาวก
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ ต่อเจ้าแม่กวนอิมบรมโพธิสัตว์พุทธเจ้า พระผู้ทรงมีน้ำพระทัยเมตตากรุณาต่อผู้ทุกข์ยากลำบากอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีการถือชั้นวรรณะ น้ำพระทัยของพระองค์บริสุทธิ์ และศักดิ์สิทธิ์ประดุจดังกระแสแห่งทิพย์
ข้าพเจ้าขอถวายอภิวาทต่อพระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์ และพระอรหันต์ สาวกสาวิกาทั้งหลาย เทพเจ้าบนสวรรค์ เทพเจ้าผู้รักษาแผ่นดิน ขอให้ข้าพเจ้า พ้นจากเคราะห์กรรมทั้งปวง ขอให้ข้าพเจ้าได้ปัญญา ให้ข้าพเจ้าได้โลกกุตตระ ได้เข้าถึงฝั่งแดนพระอริยะด้วยเทอญ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น